ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 บัญญัติถึงเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษี โดยเงินได้ตาม (17) คือเงินได้ตามที่กำหนดยกเว้นโดยกฎกระทรวง และตามข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร กำหนดว่า เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (17) ซึ่งตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ สำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือ ตาย ข้อ 1 (1) กำหนดว่า กรณีเกษียณอายุ ลูกจ้างผู้นั้นต้องมีอายุไม่ตำ่กว่า 55 ปีบริบูรณ์ ซึ่งออกจากงาน เพราะครบกำหนดหรือสิ้นกำหนดเวลาทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี แสดงให้เห็นถึงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการยกเว้นภาษีเงินได้ประเภทนี้ประสงค์จะให้มีการเข้าเป็นสมาชิกกองทุนเป็นระยะยาวไม่น้อยกว่า 5 ปี และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ทั้งไม่ให้ประโยชน์ในการยกเว้นภาษีในกรณีสมาชิกลาออกจากงานหรือออกเพราะเหตุที่กระทำความผิดเพื่อส่งเสริมให้เกิดการออมระยะยาวไว้สำหรับยามเกษียณอายุ เห็นว่า กรณีของโจทก์มีข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546 ข้อ 6.6 (5) กำหนดกรณีครบเกษียณอายุให้พนักงานผู้มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ต่อมามีการออกระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ พ 42/2547 เรื่อง การออกจากงานโดยความเห็นชอบร่วมกัน พ.ศ. 2547 ถึง 2550 โดยมีหลักการสำคัญตามระเบียบนี้ ข้อ 4 ให้สิทธิพนักงานแสดงความจำนงขอออกจากงานได้แต่ต้องได้รับการพิจารณาอนุญาตให้ออกจากงานได้จากธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย และยังมีการให้เงินเพิ่มพิเศษและสิทธิประโยชน์แก่ผู้ออกจากงานตามระเบียบนี้ด้วย ประกอบกับในข้อ 2 ของระเบียบนี้ก็ระบุถึงเหตุผลและความจำเป็นว่า เพื่อเป็นทางเลือกแก่พนักงานในการทำงานภายใต้องค์กรกะทัดรัด ซึ่งย่อมเห็นได้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ ระเบียบนี้เพื่อจูงใจพนักงานให้ขอออกจากงาน เนื่องจากต้องการลดกำลังคนขององค์กรให้มีขนาดเหมาะสม และลดค่าใช้จ่ายจากการมีพนักงานมากเกินความจำเป็น ซึ่งแตกต่างจากกรณีการลาออกของพนักงานตามปกติธรรมดา ที่เกิดจากความต้องการของพนักงานฝ่ายเดียว และธนาคารแห่งประเทศไทยก็ไม่ต้องจ่ายเงิน เพิ่มพิเศษหรือใช้ให้สิทธิประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากสิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเพราะการลาออกตามปกติโดยสิ้นเชิง จึงถือว่าการออกจากงานตามเงื่อนไขแห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ พ 42/2547 ดังกล่าว ไม่ใช่การลาออกจากงานปกติตามข้อบังคับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยพนักงาน พ.ศ. 2546 ข้อ 6.6 (2) บัญญัติถึงเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณ หากแต่การออกจากงานตามระเบียบนี้เกิดจากความประสงค์ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดหลักเกณฑ์ ยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับเหตุผลและความจำเป็นในขณะนั้น ดังนั้น หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กาหนดตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ พ 42/2547 นี้ก็คือข้อกำหนดส่วนหนึ่งในหลักเกณฑ์การเกษียณอายุงาน อันเป็นการเพิ่มเติมเป็นให้เกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือเกษียณอายุงานก่อนอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ ได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งระเบียบนี้ การที่โจทก์ใช้สิทธิตามระเบียบนี้ในการออกจากงานย่อม ถือได้ว่าเป็นการเกษียณอายุโดยการออกจากงานเมื่อสิ้นกาหนดเวลาการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่กำหนดไว้เป็นไปภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ พ 42/2547 ที่เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคานวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 42 (17) ประกอบด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2409) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี เงินได้ (ฉบับที่ 52) เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้