ภาษีความหวานระยะที่ 3 เริ่ม 1 เมษายน 2566 หลังครบกำหนด 6 เดือนที่ครม. เคยขอเลื่อนขึ้นภาษีความหวาน ตามปริมาณน้ำตาลระยะที่ 3 เพื่อลดภาระค่าครองชีพของประชาชน
ภาษีความหวานระยะที่ 3 มาแล้ว 1 เม.ย. 2566
ภาษีความหวานระยะที่ 3 เตรียมเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 หลังคณะรัฐมนตรีเคยขอเลื่อนกำหนดขึ้นภาษีความหวาน ตามปริมาณน้ำตาลระยะที่ 3 เพื่อลดภาระค่าครองชีพของประชาชน โดยในครั้งนั้นนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบขยายเวลาปรับขึ้นอัตราภาษีความหวานตามปริมาณน้ำตาลระยะที่ 3 ออกไปอีกเป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566 เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชนในปัจจุบัน รวมถึงช่วยให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มม ีระยะเวลาในการปรับตัวเพื่อรองรับการปรับขึ้นอัตราภาษีความหวานตามปริมาณน้ำตาลระยะที่ 3 ต่อไป
ดังนั้น วันที่ 31 มีนาคม 2566 กำลังจะครบกำหนดแล้ว ทำให้ภาษีความหวานระยะที่ 3 จะกลับมาเริ่มใช้บังคับในวันที่ 1 เมษายน 2566
ครม. เคยเลื่อนขึ้นภาษีความหวาน ระยะ 3 เป็นครั้งที่สอง
ก่อนหน้านี้กรมสรรพสามิตได้เริ่มจัดเก็บภาษีความหวานตามปริมาณน้ำตาลในสินค้าเครื่องดื่มแล้วตั้งแต่ปี 2560 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีการปรับสูตรลดปริมาณน้ำตาลเพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนมาโดยตลอด โดยมีการกำหนดโครงสร้างภาษีในอัตราแบบขั้นบันไดดังนี้
- ระยะที่ 1 ในวันที่ 16 กันยายน 2560 ถึง 30 กันยายน 2562
- ระยะที่ 2 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2564 และ
- ระยะที่ 3 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2566
ต่อมาได้มีการขยายเวลาการปรับขึ้นอัตราภาษีระยะที่ 3 ออกไป 1 ปี จากวันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นวันที่ 1 ตุลาคม 2565 โดยนายอาคมให้เหตุผลว่าด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน หากมีการปรับขึ้นภาษีตามกำหนดเวลาเดิม อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม เนื่องจากผู้ประกอบการอาจดำเนินการปรับราคาเพิ่มสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ กรมสรรพสามิต จึงเสนอขยายเวลาการขึ้นอัตราภาษีความหวานตามปริมาณน้ำตาลระยะที่ 3 ออกไปอีกเป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2566
โดยในครั้งนั้น ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า การดำเนินการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตความหวานตามปริมาณน้ำตาลตามที่กำหนดไว้นั้น นอกจากจะเป็นแนวทางด้านสาธารณสุขในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำ ยังถือได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ของกรมสรรพส ามิตที่มุ่งหวังจะเป็นกลไกสำคัญในการวางรากฐานสังคมและสนับสนุนให้ประชาชนในประเทศ มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสุขภาพ เพื่อเป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับประชาชนและประเทศชาติ