อัตราค่าแรงขั้นต่ำ เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป อัพเดตล่าสุด อัตราค่าแรงขั้นต่ำ มี 9 อัตราแบ่งตามพื้นที่ โดยกำหนดอัตราต่ำสุด 328 บาท และอัตราสูงสุด 354 บาท อ้างอิงตาม ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 11)
อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 2565 ใหม่ แยกตามพื้นที่ 77 จังหวัด เริ่มใช้แล้วตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
กรุงเทพมหานคร
- วันละ 353 บาท
กระบี่
- วันละ 340 บาท
กาญจนบุรี
- วันละ 335 บาท
กาฬสินธุ์
- วันละ 338 บาท
กำแพงเพชร
- วันละ 332 บาท
ขอนแก่น
- วันละ 340 บาท
จันทบุรี
- วันละ 338 บาท
ฉะเชิงเทรา
- วันละ 345 บาท
ชลบุรี
- วันละ 354 บาท
ชัยนาท
- วันละ 335 บาท
ชัยภูมิ
- วันละ 332 บาท
ชุมพร
- วันล ะ 332 บาท
เชียงราย
- วันละ 332 บาท
เชียงใหม่
- วันละ 340 บาท
ตรัง
- วันละ 332 บาท
ตราด
- วันละ 340 บาท
ตาก
- วันละ 332 บาท
นครนายก
- วันละ 338 บาท
นครปฐม
- วันละ 353 บาท
นครพนม
- วันละ 335 บาท
นครราชสีมา
- วันละ 340 บาท
นครศรีธรรมราช
- วันละ 332 บาท
นครสวรรค์
- วันละ 335 บาท
นนทบุรี
- วันละ 353 บาท
นราธิวาส
- วันละ 328 บาท
น่าน
- วันละ 328 บาท
บึงกาฬ
- วันละ 335 บาท
บุรีรัมย์
- วันละ 335 บาท
ปทุมธานี
- วันละ 353 บาท
ประจวบคีรีขันธ์
- วันละ 335 บาท
ปราจีนบุรี
- วันละ 340 บาท
ปัตตานี
- วันละ 328 บาท
พระนครศรีอยุธยา
- วันละ 343 บาท
พังงา
- วันละ 340 บาท
พัทลุง
- วันละ 335 บาท
พิจิตร
- วันละ 332 บาท
พิษณุโลก
- วันละ 335 บาท
เพชรบุรี
- วันละ 335 บาท
เพชรบูรณ์
- วันละ 335 บาท
แพร่
- วันละ 332 บาท
พะเยา
- วันละ 335 บาท
ภูเก็ต
- วันละ 354 บาท
มหาสารคาม
- วันละ 332 บาท
มุกดาหาร
- วันละ 338 บาท
แม่ฮ่องสอน
- วันละ 332 บาท
ยะลา
- วันละ 328 บาท
ยโสธร
- วันละ 335 บาท
ร้อยเอ็ด
- วันละ 335 บาท
ระนอง
- วันละ 332 บาท
ระยอง
- วันละ 354 บาท
ราชบุรี
- วันละ 332 บาท
ลพบุรี
- วันละ 340 บาท
ลำปาง
- วันละ 332 บาท
ลำพูน
- วันละ 332 บาท
เลย
- วันละ 335 บาท
ศรีสะเกษ
- วันละ 332 บาท
สกลนคร
- วันละ 338 บาท
สงขลา
- วันละ 340 บาท
สตูล
- วันละ 332 บาท
สมุทรปราการ
- วันละ 353 บาท
สมุทรสงคราม
- วันละ 338 บาท
สมุทรสาคร
- วันละ 353 บาท
สระแก้ว
- วันละ 335 บาท
สระบุรี
- วันละ 340 บาท
สิงห์บุรี
- วันละ 332 บาท
สุโขทัย
- วันละ 332 บาท
สุพรรณบุรี
- วันละ 340 บาท
สุราษฎร์ธานี
- วันละ 340 บาท
สุรินทร์
- วันละ 335 บาท
หนองคาย
- วันละ 340 บาท
หนองบัวลำภู
- วันละ 332 บาท
อ่างทอง
- วันละ 335 บาท
อุดรธานี
- วันละ 328 บาท
อุทัยธานี
- วันละ 332 บาท
อุตรดิตถ์
- วันละ 335 บาท
อุบลราชธานี
- วันละ 340 บาท
77. อำนาจเจริญ
- วันละ 332 บาท
ตารางสรุป อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 2565 แบ่งตามอัตราค่าจ้าง (เริ่มมีผลใช้บังคับ 1 ต.ค. 2565)
อัตราค่าแรงขั้นต่ำใหม่ 2565 ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 11) เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป แบ่งได้เป็นจำนวน 9 อัตราแบ่งตามพื้นที่ โดยกำหนดอัตราต่ำสุด 328 บาท และอัตราสูงสุด 354 บาท
ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ อัตราใหม่ เริ่ม 1 ต.ค. 2565 เรียงลำดับอัตราค่าแรงใหม่จากสูงไปต่ำ
1. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 354 บาท จำนวน 6 จังหวัด
ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 354 บาท ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่
- ชลบุรี (จากเดิมวันละ 336 บาท)
- ระยอง (จากเดิมวันละ 335 บาท) และ
- ภูเก็ต (จากเดิมวันละ 336 บาท)
2. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 353 บาท จำนวน 6 จังหวัด
ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 353 บาท ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่
- กรุงเทพมหานคร (จากเดิมวันละ 331 บาท)
- นนทบุรี (จากเดิมวันละ 331 บาท)
- นครปฐม (จากเดิมวันละ 331 บาท)
- ปทุมธานี (จากเดิมวันละ 331 บาท)
- สมุทรปราการ (จากเดิมวันละ 331 บาท) และ
- สมุทรสาคร (จากเดิมวันละ 331 บาท)
3. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 345 บาท จำนวน 1 จังหวัด
ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 345 บาท ในพื้นที่ 1 จังหวัด ได้แก่
- ฉะเชิงเทรา (จากเดิมวันละ 330 บาท)
4. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 343 บาท จำนวน 1 จังหวัด
ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 343 บาท ในพื้นที่ 1 จังหวัด ได้แก่
- พระนครศรีอยุธยา (จากเดิมวันละ 325 บาท)
5. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 340 บาท จำนวน 14 จังหวัด
ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 340 บาท ในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่
- กระบี่ (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- ขอนแก่น (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- เชียงใหม่ (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- ตราด (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- นครราชสีมา (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- ปราจีนบุรี (จากเดิมวันละ 324 บาท)
- พังงา (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- ลพบุรี (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- สงขลา (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- สระบุรี (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- สุพรรณบุรี (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- สุราษฎร์ธานี (จากเดิมวันละ 325 บาท)
- หนองคาย (จากเดิมวันละ 325 บาท) และ
- อุบลราชธานี (จากเดิมวันละ 325 บาท)
6. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 338 บาท จำนวน 6 จังหวัด
ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 338 บาท ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่
- กาฬสินธุ์ (จากเดิมวันละ 332 บาท)
- จันทบุรี (จากเดิมวันละ 332 บาท)
- นครนายก (จากเดิมวันละ 332 บาท)
- มุกดาหาร (จากเดิมวันละ 332 บาท)
- สกลนคร (จากเดิมวันละ 332 บาท) และ
- สมุทรสงคราม (จากเดิมวันละ 332 บาท)
7. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 335 บาท จำนวน 19 จังหวัด
ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 335 บาท ในพื้นที่ 19 จังหวัด ได้แก่
- กาญจนบุรี (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- ชัยนาท (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- นครพนม (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- นครสวรรค์ (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- บึงกาฬ (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- บุรีรัมย์ (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- ประจวบคีรีขันธ์ (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- พะเยา (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- พัทลุง (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- พิษณุโลก (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- เพชรบุรี (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- เพชรบูรณ์ (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- ยโสธร (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- ร้อยเอ็ด (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- เลย (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- สระแก้ว (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- สุรินทร์ (จากเดิมวันละ 320 บาท)
- อ่างทอง (จากเดิมวันละ 320 บาท) และ
- อุตรดิตถ์ (จากเดิมวันละ 320 บาท)
8. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 332 บาท จำนวน 22 จังหวัด
ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 332 บาท ในพื้นที่ 22 จังหวัด ได้แก่
- กำแพงเพชร (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- ชัยภูมิ (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- ชุมพร (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- เชียงราย (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- ตรัง (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- ตาก (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- นครศรีธรรมราช (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- พิจิตร (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- แพร่ (จาก เดิมวันละ 315 บาท)
- มหาสารคาม (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- แม่ฮ่องสอน (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- ระนอง (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- ราชบุรี (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- ลำปาง (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- ลำพูน (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- ศรีสะเกษ (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- สตูล (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- สิงห์บุรี (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- สุโขทัย (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- หนองบัวลำภู (จากเดิมวันละ 315 บาท)
- อำนาจเจริญ (จากเดิมวันละ 315 บาท) และ
- อุทัยธานี (จากเดิมวันละ 315 บาท)
9. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 328 บาท จำนวน 5 จังหวัด
ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 328 บาท ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่
- ยะลา (จากเดิมวันละ 313 บาท)
- ปัตตานี (จากเดิมวันละ 313 บาท)
- นราธิวาส (จากเดิมวันละ 313 บาท)
- น่าน (จากเดิมวันละ 320 บาท) และ
- อุดรธานี (จากเดิมวันละ 320 บาท)
ที่มาของค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม ่ 2565
ก่อนหน้านี้ นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 21 ครั้งที่ 8/2565 เพื่อพิจารณากลั่นกรองข้อเสนออัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ปี 2565 ร่วมกับไตรภาคี ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง และหน่วยงานภาครัฐ โดยที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างฯ ได้เห็นชอบปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2565 ทั้ง 77 จังหวัด จำนวน 9 อัตรา โดยกำหนดอัตราเริ่มต้นตั้งแต่วันละ 328 บาท ถึง 354 บาท เพื่อให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
ด้านนายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า การพิจารณาปรับ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ สำหรับปี 2565 ครั้งนี้มีอัตราค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 337 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิมคิดเป็นอัตรา 5.02% โดยที่ประชุมฯ ได้พิจารณากำหนดบนพื้นฐานของความเสมอภาค เพื่อใ ห้นายจ้างสามารถประกอบธุรกิจอยู่ได้ ลูกจ้างสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข และเพื่อเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ
ทั้งนี้ เมื่อมีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่สำหรับปี 2565 แล้ว คณะกรรมการค่าจ้างได้มีข้อเสนอให้รัฐบาลมีการออกมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากการปรับ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ในส่วนค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ เพื่อนำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้นำผลสรุปเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ซึ่งที่ประชุม ครม. ได้ให้ความเห็นชอบแล้วตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2565
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีรายได้ตามเกณฑ์ค่าแรงขั้นต่ำ
หากคุณรายได้จากงานประจำท างเดียวในอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยตลอดทั้งปีมีรายได้ไม่เกิน 120,000 บาท หรือเฉลี่ยไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท คุณจะไม่มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีประจำปีแต่อย่างใด เนื่องจากรายได้ต่อปียังไม่ถึงเกณฑ์ต้องยื่นภาษีประจำปี