คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออก ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จํานวนเขตเลือกตั้ง และท้องที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้ง เพื่อกำหนดเขตเลือกตั้ง 2566 สำหรับเขตเลือกตั้งทั้ง 400 เขต ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ
เขตเลือกตั้ง 2566 แบ่งตามจังหวัด รวม 400 เขต
กกต. ได้กำหนดเขตเลือกตั้ง 2566 จำนวน รวม 400 เขตเลือกตั้ง กระจายตามจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด โดย กกต. ได้ออก ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมี เพื่อกำหนดจำนวนเขตเลือกตั้งและจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบแบ่งเขตของแต่ละจังหวัดโดยอ้างอิงตา มจำนวนราษฎรสัญชาติไทยทั่วราชอาณาจักร
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดเขตเลือกตั้ง 2566
- จำนวนราษฎรสัญชาติไทยทั่วราชอาณาจักร 65,106,481 คน เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565
- กกต. ได้กำหนดเขตเลือกตั้งโดยใช้ฐานเฉลี่ยจำนวนราษฎร 162,766 คน ต่อ สส. แบบแบ่งเขตหนึ่งคน
- เขตเลือกตั้ง 400 เขต สามารถแบ่งจำนวนตามภาคได้ดังนี้
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด มี 133 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 133 คน)
- ภาคกลาง 22 จังหวัด (รวมกรุงเทพมหานคร) มี 122 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 122 คน)
- ภาคใต้ 14 จังหวัด มี 60 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 60 คน)
- ภาคเหนือ 9 จังหวัด มี 37 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 37 คน)
- ภาคตะวันออก 7 จังหวัด มี 29 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 29 คน)
- ภาคตะวันตก 5 จังหวัด มี 19 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 19 คน)
- กรุงเทพมหานครมีราษฎร 5,394,910 คน จึงได้รับการจัดสรรเขตเลือกมากท ี่สุด คือ 33 เขตเลือกตั้ง ทำให้มี สส. แบบแบ่งเขตได้ถึง 33 คนในจังหวัดเดียว
- ตราด ระนอง สมุทรสาคร และสิงห์บุรี เป็น 4 จังหวัดที่มีเขตเลือกเพียงจังหวัดละ 1 เขต ทำให้ทั้ง 4 จังหวัดนี้มี สส. แบบแบ่งเขตได้จังหวัดละ 1 คน
- จังหวัดที่มีราษฎรเกิน 1 ล้านคน มีจำนวน 21 จังหวัด
- จังหวัดที่สามารถมี สส. แบบแบ่งเขตได้ 10 คนขึ้นไป มีจำนวน 9 จังหวัด ได้แก่
- กรุงเทพมหานคร ได้ 33 คน
- นครราชสีมา ได้ 16 คน
- ขอนแก่น ได้ 11 คน
- อุบลราชธานี ได้ 11 คน
- ชลบุรี ได้ 10 คน
- เชียงใหม่ ได้ 10 คน
- นครศรีธรรมราช ได้ 10 คน
- บุรีรัมย์ ได้ 10 คน
- อุดรธานี ได้ 10 คน
เขตเลือกตั้งภาคกลาง 22 จังหวัด (รวมกรุงเทพมหานคร) - 122 เขตเลือกตั้ง
เขตเลือกตั้งภาคกลาง 22 จังหวัด (รวมกรุงเทพมหานคร) มีจำนวนเขตเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 122 เขต โดยแบ่งเขตเลือกตั้งตามจังหวัดได้ดังนี้
กรุงเทพมหานค ร - 33 เขตเลือกตั้ง
กรุงเทพมหานครมีราษฎร 5,394,910 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 33 คน
กรุงเทพมหานคร - เขตเลือกตั้งที่ 1
- เขตพระนคร
- เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
- เขตสัมพันธวงศ์
- เขตดุสิต (ยกเว้นแขวงถนนนครไชยศรี)
- เขตบางรัก
กรุงเทพมหานคร - เขตเลือกตั้งที่ 2
- เขตสาทร
- เขตปทุมวัน
- เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร - เขตเลือกตั้งที่ 3
- เขตบางคอแหลม
- เขตยานนาวา
กรุงเทพมหานคร - เขตเลือกตั้งที่ 4
- เขตคลองเตย
- เขตวัฒนา
กรุงเทพมหานคร - เขตเลือกตั้งที่ 5
- เขตห้วยขวาง
- เขตวังทองหลาง (ยกเว้นแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์)
กรุงเทพมหานคร - เขตเลือกตั้งที่ 6
- เขตพญาไท
- เขตดินแดง
กรุงเทพมหานคร - เขตเลือกตั้งที่ 7
- เขตบางซื่อ
- เขตดุสิต (เฉพาะแขวงถนนนครไชยศรี)
กรุงเทพมหานคร - เขตเลือกตั้งที่ 8
- เขตหลักสี่ (ยกเว ้นแขวงตลาดบางเขน)
- เขตจตุจักร (ยกเว้นแขวงจันทรเกษมและแขวงเสนานิคม)
กรุงเทพมหานคร - เขตเลือกตั้งที่ 9
- เขตบางเขน (ยกเว้นแขวงท่าแร้ง)
- เขตจตุจักร (เฉพาะแขวงจันทรเกษมและแขวงเสนานิคม)
- เขตหลักสี่ (เฉพาะแขวงตลาดบางเขน)
กรุงเทพมหานคร - เขตเลือกตั้งที่ 10
- เขตดอนเมือง
กรุงเทพมหานคร - เขตเลือกตั้งที่ 11
- เขตสายไหม (ยกเว้นแขวงออเงิน)
กรุงเทพมหานคร - เขตเลือกตั้งที่ 12
- เขตสายไหม (เฉพาะแขวงออเงิน)
- เขตบางเขน (เฉพาะแขวงท่าแร้ง
- เขตลาดพร้าว (เฉพาะแขวงจรเข้บัว)
กรุงเทพมหานคร - เขตเลือกตั้งที่ 13
- เขตลาดพร้าว (ยกเว้นแขวงจรเข้บัว)
- เขตบึงกุ่ม (ยกเว้นแขวงคลองกุ่ม)
กรุงเทพมหานคร - เขตเลือกตั้งที่ 14
- เขตวังทองหลาง (เฉพาะแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์)
- เขตบางกะปิ